ขอต้อนรับ...

เพื่อนๆเข้าสู่เว็บบล็อกของเรา โดยเว็บของเราจะให้ความรู้กับเพื่อนๆเกี่ยวระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และยังมีบทความต่างๆที่น่าสนใจมากมาย เชิญแวะเข้ามาชมได้นะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ออสซี่พัฒนาสมองกลสื่อสารกับมนุษย์


ออสซี่พัฒนาสมองกลสื่อสารกับมนุษย์

คอมพิวเตอร์โฉมใหม่แปลงโฉมจากหน้าจอสัมผัส เมาส์ คีย์บอร์ดใหม่แบบเดิมๆ มาเป็นหัวตัวการ์ตูนที่สามารถคิดและพูดตอบโต้ได้เหมือนคน ตั้งเป้าอีก 10 ปีข้างหน้าใช้เป็นรูปแบบใหม่ในการสื่อสารระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าคุยกันรู้เรื่องขึ้น เหมาะสำหรับใช้จองตั๋วหนัง ถอนเงินจากแบงก์


เดนิส เบิร์นแฮม ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการวิจัยโสตศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซิดนีย์ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนใช้คีย์บอร์ดและเมาส์สำหรับสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ แต่จริงๆ แล้วผู้ใช้คอมพิวเตอร์อยากได้คอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าใจถ่องแท้ว่า พวกเขากำลังทำอะไรอยู่ อยากได้อะไร และสามารถสื่อสารกับผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดูเป็นธรรมชาติ

ทีมงานของ เบิร์นแฮม ได้รับเงินทุนจากสภาวิจัยออสเตรเลียและสภาวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ มูลค่าถึง 100 ล้านบาท สำหรับพัฒนาศีรษะสมองกลที่มีความสามารถในการสนทนาแบบตัวต่อตัว เป็นระบบที่นำเทคโนโลยีจากหลายสาขาสร้างขึ้น เช่น การสร้างภาพการ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบจดจำเสียง ระบบสนทนาอัจฉริยะ รวมถึงระบบประสาทที่สามารถคิดและปรับปรุงการสื่อสารให้ดีขึ้นได้เอง

ทีมวิจัยเชื่อว่าศีรษะสมองกล ซึ่งคิดและพูดได้เองอัตโนมัติจะใช้งานได้จริงใน 10 ปีข้างหน้า เมื่อถือวันนั้นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในสองประการ

ประการแรกคือ เมื่อผู้ใช้สามารถเห็นการขยับปากและสีหน้าของศีรษะปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้คนเข้าใจว่าสมองกลอยากจะสื่อสารอะไรกับมนุษย์ ประการที่สอง ศีรษะสมองกลสามารถปรับรูปแบบการสื่อสารกับคนหลายประเภทได้โดยเรียกใช้ฐานข้อมูลที่ต่างกัน เช่น เลือกสำเนียง การออกเสียง การแสดงสีหน้า ศัพท์แสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพูดคุยกับคู่สนทนา

ศีรษะสมองกลจะติดตั้งกล้องวิดีโอโฟนเพื่อช่วยสืบค้นข้อมูลอัตโนมัติให้เด็กและคนหูหนวกหูตึงได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถจดจำแต่ละคน และปรับบุคลิกให้เข้ากับคนที่สนทนาด้วย และอาจแสดงอารมณ์ตอบโต้ได้ด้วย เช่น เวลาที่คู่สนทนาด้วยเริ่มหัวเสียเพราะสมองกลไม่เข้าใจสิ่งที่พวกต้องการ มันจะเปลี่ยนใช้ระบบแสดงใบหน้าเห็นอกเห็นใจทันที

นักวิจัยวางแผนพัฒนาสมองกลให้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากการพูดคุยกับคนแต่ละประเภท และพัฒนาระบบการสนทนาของตนเองให้ดีขึ้น สำหรับสมองกลต้นแบบนี้จะนำมาใช้กับตู้ให้บริการข้อมูลท่องเที่ยว เช่น ซื้อตั๋ว และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษา นอกจากนี้ ยังอาจนำมาใช้เป็นเพื่อนคุยส่วนตัวสำหรับคนชรา หรือคนพิการ แต่ในช่วงแรกคงเอามาใช้รับฟังปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับใบเรียกเก็งเงินและสอนภาษา









ระบบสารสนเทศ



ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งจะต้องทำงานตลอดวัน ตลอดคืนโดยไม่มีวันหยุดพัก การควบคุมธุรกิจได้ขยายขอบเขตออกไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก มีสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันออกไป ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องสามารถแก้ปัญหาความแตกต่าง และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้นได้ ระบบสารสนเทศ นำมาใช้ในส่วนตัว เช่น ในด้านความบันเทิง ความเพลิดเพลิน ความรู้มากยิ่งขึ้น ทางด้านธุรกิจ เช่น แก้ปัญหาและตัดสินใจ (รวบรวม เรื่องราว และวิเคราะห์)


สารสนเทศต่างจากข้อมูลอย่างไร
ข้อมูล : ความจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียด ในรูปแบบต่าง ๆ ของสิ่งที่เราสนใจไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สถานการณ์ เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่น ๆ

: ข้อเท็จจริง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต Information ใช้ในการสังเกต เก็บข้อมูลไว้มาบรรยายผล วิเคราะห์สารสนเทศ
: ข้อมูลเป็นวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้ในการผลิต Information แต่อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ Process ของแต่ละคนนำข้อมูลมาประมวลผล
สารสนเทศ ไม่ใช่ข้อมูล แต่เป็นสิ่งที่ได้มาจากข้อมูลโดยการผสมผสานความคิดเห็น วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมลงไป


ระบบสารสนเทศคืออะไร
ระบบสารสนเทศ (Information system) เป็นระบบที่ใช้ Computer เก็บรวมรวมประมวลผล และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการควบคุมภายในองค์กร
ข่าวสาร (Information) ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลหรือปรุงแต่ง เพื่อให้มีความหมายเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ข้อมูล (Data) ข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวมหรือป้อนเข้าสู่ระบบ
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ชนิด (ต้องเก็บข้อมูลให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น) การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Process) การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศบางระบบ ต้องการตอบสนอง (Feedback) ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล แล้วถูกส่งกลับไปยังส่วนการนำเข้าข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง สารสนเทศที่เป็น Output ของระบบหนึ่ง อาจเป็น Input ของอีกระบบหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Organization) องค์กรบางแห่งในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้ก็เพราะมีระบบสารสนเทศที่ดี


สารสนเทศมีคุณลักษณะที่ดี สำคัญดังนี้
1. มีความเป็นปัจจุบัน คือ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เราจะต้องเลือกสรรข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของเรา
3. สมบูรณ์ การเก็บบันทึกข้อมูลไว้ใช้จะต้องครบถ้วนไม่เก็บไว้แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
4. มีรูปแบบที่เข้าใจง่าย เราจะต้องเลือกวิธีการแสดงสารสนเทศในแบบที่เห็นแล้วเข้าใจได้ถูกต้องชัดเจน ยิ่งถ้าระบุตัวปัญหา และโอกาสได้จะยิ่งดี
5. การมี Information ต้องมีการลงทุน ใช้บัตรตอกเวลา ลายนิ้วมือ


ลักษณะที่สำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ
1. เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ บริษัทและหน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นต้องพิจารณาในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เช่น น้ำหนักและส่วนสูงมีความสัมพันธ์กับการให้ยา2. เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญระดับวิกฤติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ เอกชน เช่น ถ้าธนาคารต่าง ๆ ยังไม่ใช้ระบบ Computer กิจการค้าต่าง ๆก็คงจะซึมเซาไม่ตายตัวเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มขีด ความสามารถในด้านการแข่งขัน
3. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการบริหารจัดการทุกด้าน มีความแม่นยำ สอดคล้องกับสภาพการเก็บข้อมูลทันสมัย เป็นปัจจุบัน
4. เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ก้าวหน้าและราคาแพง เช่น Computer ใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ




วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์การธุรกิจช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ ตลอดจนพัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยที่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน

DSS คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูล และแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง

ปกติ DSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหารโดย
1. ประมวลและเสนอข้อมูลการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
2. ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยผู้บริหารในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่สุด

ปกติ DSS จะช่วยผู้บริหารทดสอบทางเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถาม “ถ้า.....แล้ว....(What….if….)” อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เทคโนโลยีของ DSS ยังช่วยให้ผู้บริหารมีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาอย่างหลากหลาย มิต้องถูกจำกัดโดยทางเลือกที่เป็นไปได้เพียงไม่กี่ลักษณะเนื่องจากข้อจำกัดของระยะเวลา หรือเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหาร แต่จะประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจ ขณะที่ผู้บริหารจะต้องกระทำการตัดสินใจโดยใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของตนเองเป็นหลัก



ส่วนประกอบของ DSS

ส่วนประกอบของ DSS สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ
1.1. อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกจะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) หรือมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ในสำนักงานเป็นหลักแต่ในปัจจุบันองค์การส่วนมากหันมาใช้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) แทนเนื่องจากมีราคาถูก มีประสิทธิภาพดี และสะดวกต่อการใช้งาน ตลอดจนผู้ใช้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานสารสนเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สามารถที่จะพัฒนา DSS ขึ้นบน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้ชุดคำสั่งประเภทฐานข้อมูล และ Spread Sheet ประกอบ
1.2. อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) ได้ถูกนำเข้ามาประยุกต์ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศของ DSS โดยในบางครั้งอาจจะใช้การประชุมโดยอาศัยสื่อวีดีโอ (Video Conference) หรือการประชุมทางไกล (Teleconference) ประกอบ เนื่องจากผู้มีหน้าที่ตัดสินใจอาจอยู่กันคนละพื้นที่
1.3. อุปกรณ์แสดงผล DSS ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลเช่น จอภาพที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์อย่างดี และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

2. ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
2.1. ฐานข้อมูล (Database) DSS จะไม่มีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลขององค์การ เนื่องจากระบบข้อมูลขององค์การเป็นระบบขนาดใหญ่มีข้อมูลหลากหลายและเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลายประเภท แต่ DSS จะมีฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันและนำมาจัดเก็บ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน และแน่นอน เพื่อรอการนำไปประมวลผลประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกัน DSS อาจจะต่อเชื่อมกับระบบฐานข้อมูลขององค์การ เพื่อดึงข้อมูลสำคัญบางประเภทมาใช้งาน
2.2. ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ปกติ DSS จะถูกพัฒนาขึ้นมาตามจุดประสงค์เฉพาะอย่าง ดังนั้น DSS จะประกอบด้วยแบบจำลองที่ต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
2.3. ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆ โดยระบบชุดคำสั่ง ของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆเพื่อนำมาประมวลผลกับข้อมูลขากฐานข้อมูล นอกจากนี้ระบบชุดคำสั่งยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการโต้ตอบกับ DSS โดยที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนคือ
ผู้ใช้
ฐานแบบจำลอง
ฐานข้อมูล


3. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังอาจจะสร้างปัญหา หรือความผิดพลาดในการตัดสินใจขึ้นได้ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ DSS จะแตกต่างจากข้อมูลในระบบสารสนเทศอื่น โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสม สมควรที่จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
3.1. มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน
3.2. มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
3.3. สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
3.4. มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

4. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่ การกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
4.1. ผู้ใช้ (End-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆตลอดจนนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
4.2. ผู้สนับสนุน DSS (DSS Supports) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ เพื่อให้ DSS มีความสมบูรณ์ และสามารถดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้

เราจะเห็นว่าหัวใจสำคัญของ DSS ที่ดีจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความต้องการขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล






คุณสมบัติของ DSS

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ DSS สามารถช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่จำเป็น แบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ และชุดคำสั่งที่ง่ายต่อการใช้งานรวมเข้าเป็นระบบเดียว เพื่อสะดวกต่อในการใช้งานของผู้ใช้ โดยที่ DSS ที่เหมาะสมควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้อาจมีทักษะทางสารสนเทศที่จำกัด ตลอดจนความเร่งด่วนในการใช้งานและความต้องการของปัญหา ทำให้ DSS ต้องมีความสะดวกต่อผู้ใช้
2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยที่ DSS ที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้อย่างฉับพลัน โดยตอบสนองความต้องการและโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา
3. มีข้อมูล และแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติ งานที่จัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวันเท่านั้น
5. มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่มีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญหน้ากับปัญหา ที่มีความไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญกับปัญหาในหลายลักษณะจึงต้องการระบบสารสนเทศที่ช่วยจัดรูปข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการตัดสินใจ

คุณสมบัติของ DSS สร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการทำงานของระบบ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากหลายองค์การสนับสนุนให้มีการพัฒนาหรือซื้อระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพขึ้น






ประเภทของ DSS
ภายหลังจากเริ่มต้นพัฒนา DSS ในทศวรรษ 1970 ได้มีผู้พยายามจำแนกประเภทของ DSS เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ตัวอย่างเช่น
Alter (1980) ได้ศึกษาการใช้ DSS ในองค์การต่างๆ โดยแบ่งการใช้ DSS ตามคุณสมบัติและระดับการใช้งานเป็นกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. File Drawer Systems
2. Data Analysis Systems
3. Analysis Information Systems
4. Accounting Models
5. Representational Models
6. Optimization Models
7. Suggestion Models

จะเห็นว่า ถึงแม้ DSS จะถูกจัดเป็นกลุ่มต่างๆ แต่ก็จะมีลักษณะร่วมกัน คือ DSS จะเปลี่ยนแปลง เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยปรับตัวตามระบบการทำงาน และสถานการณ์ซึ่ง Alter จำแนก DSS ออกตามคุณสมบัติของแต่ละระบบออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. DSS แบบให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS) เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบทางสถิติ ตลอดจนการจัดข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
2. DSS แบบให้ความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับแบบจำลองการประมวลปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลอง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นดำเนินงาน (Operation Research Model) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด





การพัฒนา DSS

การพัฒนา DSS จะมีความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป เนื่องจาก DSS ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม โดย DSS จะต้องการข้อมูลในปริมาณที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีปริมาณน้อยแต่เจาะจงกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ แต่ DSS ต้องอาศัยแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งสลับซับซ้อนกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาก นอกจากนี้ DSS โดยส่วนมากจะถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อใช้ในการสนับสนุนและการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง ซึ่งต้องการความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เหมาะสม ดังนั้นการพัฒนา DSS จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ด้วย ซึ่งเราจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาระบบ DSS ดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ โดยผู้ที่จะใช้ระบบสมควรที่จะมีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ใช้จะรับทราบและเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงาน จึงสามารถกำหนดและสรุปปัญหาอย่างครอบคลุม จากนั้นกลุ่มผู้วิเคราะห์ระบบจะศึกษาถึงความเหมาะสมและความพอเพียงของข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ ตลอดจนลักษณะของปัญหาว่าเหมาะกับการใช้ DSS ช่วยหรือไม่ ก่อนที่ข้ามไปยังขั้นตอนต่อไป
2. การออกแบบระบบ (System Design) DSS จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบ มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้ ประการสำคัญ DSS จะเกี่ยวข้องกับปัญหากึ่งโครงสร้าง หรือไม่มีโครงสร้าง ซึ่งยากต่อการกำหนดรายละเอียดและกำหนดแนวทางการตัดสินใจล่วงหน้า โดยเฉพาะการกำหนดคุณสมบัติของระบบและตรรกะของการตัดสินใจ การพัฒนา DSS จึงนิยมใช้วิธี “การพัฒนาการจากต้นแบบ (Evolutionary Prototyping Approach)” โดยสร้างต้นแบบ (Prototype) ขึ้นเพื่อการศึกษาและทดลองใช้งานในขณะเดียวกัน จากนั้นจึงพัฒนาให้ระบบต้นแบบมีความสมบูรณ์ขึ้น ประการสำคัญการทำต้นแบบขึ้นมาทดลองใช้งานทำให้การออกแบบรัดกุม และช่วยลดความผิดผลาด เมื่อนำระบบไปประยุกต์ใช้งานจริง
3. การนำไปใช้ (Implementation) DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไปที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบันและจะพัฒนาต่อไปในอนาคต ดังนั้นนักพัฒนาระบบสมควรที่จะเก็บรายละเอียดและข้อมูลของระบบไว้อย่างดีเพื่อที่จะนำมาใช้อ้างอิงในอนาคต นอกจากนี้การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานของระบบนับเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบการทำงานของระบบหลังการนำไปใช้งาน โดยที่ผู้ออกแบบสมควรจะประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขระบบในอนาคต
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนา DSS บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยใช้ชุดคำสั่งประเภท Spread Sheet เช่น Excel หรือ Lotus เป็นพื้นฐานโดยสร้างแบบจำลองการตัดสินใจและปรับเปลี่ยนข้อมูลของตัวแปรแต่ละตัว เพื่อทดสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น การปรับราคาสินค้าจะมีผลต่อยอดขายอย่างไร เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถนำแบบจำลอง สำหรับการตัดสินใจมาทดสอบปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง (Simulated Situation) จนกว่าจะสามารถให้ผลลัพธ์ที่พอใจ ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบและพัฒนาการของ DSS สำหรับการใช้งานทางธุรกิจในอนาคต









วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์





ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Information Systems: HRIS)
การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) เกี่ยวข้องกับการจัดหา การทดสอบ การประเมินผล การจ่ายเงินค่าตอบแทน และการพัฒนาลูกจ้างขององค์กร เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการใช้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลที่สุด ดังนั้นระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุน 1) การวางแผนความต้องการด้านบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของบริษัท 2) พัฒนาพนักงานเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด 3) ควบคุมนโยบายและโปรแกรมด้านบุคคล





ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ได้สนับสนุนการใช้กลยุทธ์ เทคนิค และการดำเนินการด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท



ในยุคเริ่มต้นองค์กรธุรกิจใช้ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการ
1) ผลิตรายงานการจ่ายเงินค่าจ้างด้วยเช็คและการจ่ายเงินเดือน
2) ดูแลระเบียนของพนักงานแต่ละคน และ
3) วิเคราะห์การใช้บุคลากรในการดำเนินงานด้านธุรกิจ


หลายหน่วยงานได้ก้าวไปไกลกว่าการใช้งานการบริหารงานบุคคลในแบบเดิมนี้ และได้พัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนในด้าน
1) การจัดหา การคัดเลือกและการจ้างบุคลากร
2) การมอบหมายงาน
3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
4) การวิเคราะห์ผลประโยชน์ของลูกจ้าง
5) การฝึกอบรมและการพัฒนา และ
6) สุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ อินเทอร์เน็ต (HRM and Internet)
อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนผลักดันที่สำคัญของความเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศ ( รับสมัครงาน) ผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ต (Newsgroup) และสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอินทราเน็ต (HRM and Intranet)
เทคโนโลยีอินทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถทำระบบงานพื้นฐานเกือบทั้งหมดของงานด้าน HRM ได้บนอินทราเน็ตขององค์กร เพื่อการเสนอบริการไปสู่พนักงาน ซึ่งสามารถแพร่กระจายสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ได้รวดเร็วกว่าช่องทาง ( การสื่อสาร) อื่นๆของบริษัทในอดีตและสามารถรวบรวมสารสนเทศออนไลน์จากพนักงานเพื่อนำเข้าสู่แฟ้มข้อมูลของ HRM

ตัวอย่างเช่น ระบบงานบนอินทราเน็ตในเรื่องการให้บริการตัวเองของลูกจ้าง (Employee Self-service - ESS) จะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน พนักงานสามารถใช้เว็บบราวเซอร์ เพื่อค้นหาสารสนเทศออนไลน์ในเรื่องค่าตอบแทนส่วนบุคคล และผลประโยชน์ด้านสุขภาพ ฯลฯ
ประโยชน์อีกประการหนึ่งของอินทราเน็ต คือ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมที่เก่งกว่า พนักงานสามารถรับทราบขั้นตอนในการทำงานและกระบวนการเพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่ต้องการได้ง่าย


จำนวนบุคลากรขององค์กร (Staffing the Organization)
การทำงานของบุคลากรต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบสารสนเทศ ซึ่งจะบันทึกและติดตามทรัพยากรบุคคลในบริษัทเพื่อทำให้เกิดการใช้งานสูงสุด เช่น ระบบการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลจากการติดตามเพิ่มเติม ลบทิ้ง และเปลี่ยนแปลงระเบียนของพนักงานในฐานข้อมูลบุคลากร ความเปลี่ยนแปลงจากการมอบหมายงานและค่าตอบแทน หรือการจ้างและการเลิกจ้าง ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของสารสนเทศที่จะถูกใช้เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลบุคลากรให้เป็นปัจจุบัน อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ ระบบการตรวจสอบทักษะของพนักงานซึ่งใช้ข้อมูลด้านทักษะของพนักงานจากฐานข้อมูลบุคลากรเพื่อวางตำแหน่งพนักงานภายในบริษัท ซึ่งมีทักษะที่ต้องการสำหรับงานและโครงการเฉพาะทาง

ตัวอย่างสุดท้ายเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ด้านความต้องการบุคลากร ซึ่งบริษัทต้องได้รับการตอบสนองอย่างสมดุลในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง ระบบงานนี้ช่วยให้การคาดการณ์ด้านความต้องการบุคลากรในแต่ละประเภทของงาน สำหรับแผนกของบริษัทที่มีหลากหลายหรือโครงการใหม่ๆ หรือ ความเสี่ยงอื่นๆ การวางแผนระยะยาวเช่นนี้ใช้รูปแบบจำลองของระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินแผนการอื่นๆ สำหรับแผนการในการจัดหา การมอบหมายงานใหม่และการฝึกอบรมใหม่


การพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development)
ระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์วางแผนและดูแลการจัดหา การฝึกอบรม และโครงการพัฒนาพนักงานโดยการวิเคราะห์ความสำเร็จ จากการวางแผนในอดีตของโครงการในปัจจุบัน พวกเขายังวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาด้านอาชีพจากพนักงานเพื่อหาข้อสรุปว่าวิธีการพัฒนาเช่นโปรแกรมการฝึกอบรมและการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นอย่างไร โปรแกรมการฝึกอบรมด้วยการใช้มัลติมีเดียบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ และการประเมินผลการทำงานของลูกจ้างสามารถช่วยในเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้














E - Commerce


E-Commerce

คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ เลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet

ข้อดี

1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต

ประเภทของ E-Commerce
1. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า








2. การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า) กับ Business ( ผู้ทำการค้า) เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์






3. การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน






4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกันเช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ




ความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิค E-Commerce
การดำเนินการธุระกิจการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce มีดังนี้




ภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิค E-Commerce




BANK
ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจสอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internetผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของร้านค้า สมาชิก



TPSP TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER
องค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรม การประมวลผลการชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSPสามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และทำการ Internetระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร



CUSTOMER
ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการได้ด้วยท บัตรเครดิตท บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลกท ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)


MERCHANT
ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บนSite ของตนเอง หรือ ฝาก Home Pageไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าและหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerceกับธนาคารก่อน


ISP INTERNET SERVICE PROVIDER
องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้ Internet ทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Pageมาฝากเพื่อขายสินค้า


ขั้นตอนการเปิดร้านเพื่อดำเนินการค้า E-Commerce
ระบบความปลอดภัย

1.Encryption
เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัสระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเทเอร์เนต หรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นระบบนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปบนอินเทอร์เนต

2.Authentication
เป็นระบบตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้โดยให้แจ้งข้อมูล Password ของผู้ได้รับอนุญาต

3.Firewalls
เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hard และ Software โดย Firewallsจะวางอยู่ระหว่าง เครือข่ายภายในองค์กร (Local Network)และ เครือข่ายภายนอก (Internet) เพื่อป้องกันการบุกรุกจากจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Hacker)โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)

4.PKI System (Public Infrastructure)
เป็นกลุ่มข้อ Security Servicesซึ่งปกติจัดให้โดย Certificate (CA), Authentication, Encryption และ Certificate Managementใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุณแจสาธารณะ